อาณาจักรสุโขทัย
สุโขทัยกับรัฐใกล้เคียง
ความสัมพันธ์กับอาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัยสร้างความสัมพันธ์อันดีกับอาณาจักรล้านนามาตลอด ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในสมัยพ่อขุนสศรีอินทราทิตย์ จนถึงสมัยพ่อ
ขุนรามคำแหง ทรงดำเนินนโยบายผูกสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรล้านนาให้แน่นแฟ้มยิ่งขึ้น เพราะเป็นชนชาติไทยด้วยกัน คือ ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง อาณาจักรล้านนามีบุคคลสำคัญ คือ พ่อขุนมังราย เจ้าเมืองเงินยาง และพ่อขุนงำเมือง เจ้าเมืองพะเยา ทั้งสามองค์เป็นมิตรสนิทสนมกันมาแต่เยาว์วัย เมื่อมีอำนาจปกครองบ้านเมือง จึงมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ใน พ.ศ. 1835 พ่อขุนมังรายสร้างราชธานีใหม่ มีชื่อว่า นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ พ่อขุนรามคำแหงและพ่อขุนงำเมืองก็ได้ให้ความร่วมมือ ตลอดระยะเวลาที่อาณาจักรสุโขทัยเป็นอิสระผู้ปกครองอาณาจักรทั้งสองฝ่ายต่างเป็นมิตรไมตรีกัน
ผลดีเกิดขึ้นจากการมีสัมพันธไมตรีอันดีของอาณาจักรไทยด้วยกันระหว่างสุโขทัยและล้านนา คือ สร้างความมั่นคงให้แก่ชนชาติไทยต่างพวกกันให้เป็นอันหนี่งอันเดียวกัน ต่างช่วยเหลือซี่งกันและกัน สร้างความเจริญก้าวหน้าด้วยกัน โดยเฉพาะด้านพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ และยังมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมให้กันและกัน การเป็นพันธมิตรที่ดีต่อกันเป็นเกราะป้องกันศัตรูได้อย่างดี คือ ทำให้อาณาจักรอื่นไม่กล้ารุกราน
2. ความสัมพันธ์กับเมืองนครศรีธรรมราช อาณาจักรสุโขทัยมีความสัมพันธ์อันดีกับนครศรีธรรมราชตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ทำให้ได้รับผลดีหลายประการ
คือ สุโขทัยรับเอาพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์มาเผยแผ่ในสุโขทัย และได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากประชาชนเป็นอย่างดี ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง เมืองนครศรีธรรมราชเข้าร่วมอยู่ในอาณาจักรสุโขทัย สร้างความมั่นคงแก่สุโขทัย
3. ความสัมพันธ์กับลังกา อาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนศรึอินทราทิตย์ เริ่มมีความสัมพันธ์กับลังกาในทางพระพุทธศาสนาโดยผ่านเมืองนครศรีธรรมราช เจ้ากรุงลังกาได้
ถวายพระพุทธสิหิงค์แก่สุโขทัย ในสมัยต่อมาก็มีพระเถระจากสุโขทัย เดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎกที่ลังกา รัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) ก็โปรดเกล้า ฯ ให้ไปพิมพ์รอยพระพุทธบาทของลังกามาประดิษฐไว้บนยอดเขาสุมนกูฎในเมืองสุโขทัยด้วย นอกจากนี้ยังได้เชิญพระมหาสามีสังฆราชจากเมืองนครพัน (เมาะตะมะ หรือ มะตะบัน) ประเทศมอญ ซึ่งเป็นชาวลังกามาเป็นอุปัชฌาย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์
4. ความสัมพันธ์กับอาณาจักรมอญ อาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพ่อขุนบานเมืองยังไม่มีสัมพันธไมตรีกับอาราจักรมอญที่ปรกฎชัด ต่อมาในรัชกาล
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงสนับสนุน มะกะโท ชาวมอญ โดยรับไว้เป็นราชบุตรเขยแลได้ส่งเสริมจนมีโอกาสได้เป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรมอญและพระราชทานพระนามไว้ว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว อาณาจักรมอญจึงสวามิภักดิ์ต่ออาณาจักรสุโขทัยตลอดรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหง จนเมื่อพระเจ้าฟ้ารั่วสิ้นพระชนม์แล้ว หัวเมืองมอญาจึงตั้งตนเป็นอิสระ ไม่ยอมขึ้นต่อสุโขทัยอีก
5. ความสัมพันธ์กับอาณาจักรลาว สมัยพ่อขุนรามคำแหง อาณาจักรสุโขทัยมีอำนาจเหนือหัวเมืองลาวบางเมืองในดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงทางฝั่งซ้าย คือ ทางด้านตะวันออก
ถึงเมืองเวียงจันทน์ เวียงคำ ทางเหนือถึงเมืองหลวงพระบาง หัวเมืองลาวดังกล่าวจึงเป็นเมืองประเทศราชของสุโขทัย เมื่อสิ้นสมัยพ่อขุนรามคำแหง หัวเมืองลาวได้ตั้งตนเป็นอิสระปกคองตนเอง ครั้นถึง พ.ศ. 1896 – 1916 เจ้าฟ้างุ้ม กษัตริย์ลาวได้รวบรวมหัวเมืองต่างๆ ตั้งอาราจักรลาวสุโขทัย การที่ลาวเข้มแข็งและมีอำนาจเป็นผลดีต่อไทย เพราะลาวได้หันไปต่อสู้กับขอม จนทำให้ขอมอ่อนอำนาจและไม่มีกำลังพอที่จะมารุกรานไทย อาณาจักรสุโขทัยและอาณาจักรลาวในช่วงนี้ จึงมีความสัมพันธ์ในทางสันติมิได้เป็นศัตรูต่อกัน
6. ความมสัมพันธ์กับจีน แม้จีนจะอยู่ห่างไกล แต่มีอำนาจมาก จึงแผ่อิทธิพลเข้ามาในดินแดนประเทศต่างๆ ในแถบนี้ ในสมัยพระเจ้าหงวนสีโจ๊วฮ่องเต้ (กุบไลข่าน)
ได้ส่งพระราชสาสน์มายังสุโขทัยเตือนใสห้นำเครื่องบรรณาการไปถวายพระองค์ ครั้งสำคัญคือเมื่อ พ.ศ. 1837 พ่อขุนรามมคำแหงทารงเห็นว่าหากนิ่งเฉยหรือขัดขืน อาจเกิดสงครามกับจีนได้ จึงโปรดให้แต่งราทูตนำเครื่องบรรณาการไปถวายกษัตริย์จีน สุโขทัยและจีนจึงมีไมตรีต่อกัน มีผลดีทั้งทางเศรษฐกิจการเมือง คือ มีการติดต่อค้าขายกับจีน และได้รับศิลปะการทำเครื่องเคลือบ ซึ่งต่อมาเรียกว่า เครื่องสังคโลก ผลิตเป็นสินค้าออกเป็นที่นิยมมาก นอกจากนี้ยังได้รับความรู้ในการเดินเรือทะเลจากจีนสามารถนำเรือบรรทุกสินค้าไปค้าขายกับนานาประเทศได้ ส่วนทางการเมืองก็ได้รับความเชื่อถือจากประเทศอื่นๆ เนื่องจากจีนให้การรับรองไม่ต้องถูกปราบปรามเหมือนบางประเทศ ส่งผลให้สุโขทัยมีการแลกเปลี่ยนซิ้อาขายกับจีนและประเทศอื่นๆ ขยายตลาดกว้างขวางขึ้น
7. ความสัมพันธ์กับอาณาจักรขอม พ่อขุนรามคำแหงเริ่มขยายอำนาจไปทางลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง เข้าโจมตีอาณาจักรขอม โดยได้รับการสนับสนุนาจากจักรพรรดิกุบไล
ข่าน การทำสงครามนำความเสียหายให้แก่ขอม เป็นการทำลายอำนาจทางการเมืองของขอมที่เคยมีอยุ่ในแถบลุ่มแม่น้ำโขงและลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาให้สิ้นสุดลง
8. ความสัมพันธ์กับอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรอยุธยาได้สถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1893 โดยพระเจ้าอู่ทอง (พระรามาธิบดีที่ 1) เป็นพระมหากัตริย์พระองค์แรก ได้รับการ
สนับสนุนจากแคว้นละโว้และสุพรรณภูมิ จึงมีความเข้มแข็งมาก ได้สถาปนาราชอาณาจักรไม่ขึ้นต่อสุโขทัย ซี่งช่วงเวลานี้ตรงกับรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ (ลิไทย) ในระยะแรกที่กรุงศรีอยุธยาสถาปนาเป็นอาณาจักรนี้ สุโขทัยอละอยุธยาได้มีการสู้รบกันเป็นครั้งคราว จนกระทั่ง พ.ศ. 1921 ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 2 สุโขทัยก็ตกเป็นประเทศราชาของอยุธยาซึ่งมีพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) เป็นกษัตริย์ แม้ต่อมาพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไทย) จะประกาศอิสรภาพจากอยุธยาได้สำเร็จ แต่เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต ราชโอรสของพระองค์ก็แย่งชิงราชสมบัติกัน เป็นเหตุให้สมเด็จพระอินทราชาแห่งกรุงศรีอยุธยายกทัพขึ้นไปไกล่เกลี่ย ทำให้สุโขทัยถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน และเมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) สวรรคต เจ้าสามพระยาแห่งอาณาจักรอยุธยา ได้ทรงส่งพระราเมศวร พระราชโอรสที่เกิดจากพระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 3 ขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลกซี่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรสุโขทัย สุโขทัยจึงถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยาเป็นอันสิ้นสุดอาณาจักราสุโขทัย
การเสื่อมอำนาจของสุโขทัย
ความเสื่อมของอาณาจักรสุโขทัยเกิดขั้นเพราะความอ่อนแอของระบบการเมืองการปกครอง แคว้นต่างๆ ที่เคยอยู่ในอำนาจตั้งตนเป็นอิสระ ส่งผลให้อาณาจักรหมดอำนาจลงไปในที่สุด
เมื่อสิ้นรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประมาณ พ.ศ. 1841 อาณาจักรสุโขทัยก็เริ่มอ่อนแอลง ความอ่อนแอหรือความเสื่อมของสุโขทัยนี้ น่าจะเกิดจากสาเหตุ 4 ประการ คือ
1. ความเหินห่างระหว่างพระมหากษัตริย์กับราษฎร
2. ความย่อหย่อนในด้านการทหาร
3. การถูกตัดเส้นทางเศรษฐกิจ
4. การแตกแยกภายใน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น