/* Start https://www.cursors-4u.com */ * {cursor: url(https://ani.cursors-4u.net/others/oth-9/oth928.cur), auto !important;} /* End https://www.cursors-4u.com */

วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564


                                                             ทวีปเอเชีย

                                                                  
                                

เป็นทวีปขนาดใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและซีกโลกตะวันออก ทวีปเอเชียเป็นส่วนหนึ่งของทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และเป็นส่วนหนึ่งของทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานาน[3]และเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เป็นเพียงทวีปขนาดใหญ่และมีประชากรเยอะ แต่ยังมีสถานที่และการตั้งถิ่นฐานหนาแน่นมีขนาดใหญ่ แต่เช่นเดียวกันทวีปเอเชียก็มีบริเวณที่มีประชากรเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก




                                                         ทวีปออสเตรเลีย

                                                                   

เป็นทวีปที่รวมแผ่นดินใหญ่ของประเทศออสเตรเลีย นิวกินี แทสมาเนีย และเกาะต่างๆที่อยู่บนไหล่ทวีปเดียวกัน ในทางธรณีวิทยาแล้วไหล่ทวีปถือเป็นส่วนหนึ่งของทวีป ทำให้แผ่นดินที่กระจัดกระจายเหล่านี้ยังคงนับว่าเป็นทวีป สำหรับประเทศนิวซีแลนด์นั้นไม่ได้อยู่บนไหล่ทวีปเดียวกัน แต่เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคที่ใหญ่กว่าที่เรียกว่าออสตราเลเซีย

                                                          สถาบันการเงิน





สถาบันการเงินมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการเงินของประเทศ โดยทำหน้าที่ระดมและจัดสรรเงินทุนแก่ภาคเศรษฐกิจจริง การชำระราคาและบริการ การบริหารความเสี่ยง รวมถึงการให้ข้อมูลทางการเงินเพื่อการตัดสินใจ ดังนั้น การดูแลให้การดำเนินงานของสถาบันการเงินมีประสิทธิภาพ โปร่งใส มีธรรมาภิบาลและบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับเงินฝากของประชาชนจึงเป็นเรื่องสำคัญ

                                                     เศรษฐศาสตร์

                                                             
 




เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการผลิต การกระจาย การบริโภคสินค้าและบริการ

เศรษฐศาสตร์มุ่งศึกษาพฤติกรรมและการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแสดงทางเศรษฐกิจและการทำงานของเศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์จุลภาควิเคราะห์องค์ประกอบหลักในระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งตัวแสดงและตลาดที่เป็นปัจเจกบุคคล การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน และผลลัพธ์ของปฏิสัมพันธ์นั้น ตัวอย่างของตัวแสดงที่เป็นปัจเจกรวมถึงครัวเรือน ภาคธุรกิจ ผู้ซื้อ และผู้ขาย เศรษฐศาสตร์มหภาควิเคราะห์เศรษฐกิจในภาพรวม (หมายถึงการผลิตมวลรวม การบริโภค การออม และการลงทุน) และปัญหาที่กระทบมัน รวมทั้งการไม่ได้ใช้ของทรัพยากรต่างๆ (แรงงาน, ทุน, และที่ดิน) เงินเฟ้อ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และนโยบายสาธารณะที่จัดการปัญหาเหล่านั้น (การเงิน การคลัง และนโยบายอื่นๆ)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น